การป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง

 

ในอดีตชายฝั่งบริเวณพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง จึงได้มีการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทั้งเรื่องการตกตะกอนทับถมบริเวณปากคลองบางตราน้อยและบางตราใหญ่ และการกัดซาะชายฝั่งทะเลครอบคลุมพื้นที่ด้านเหนือและด้านใต้ของพระราช นิเวศน์มฤคทายวันรวมระยะทาง 3 กิโลเมตรไว้ทั้งหมด 7 รูปแบบ ได้แก่

1. เขื่อนกันทรายและคลื่น (Jetty) จำนวน 2 ตัว เพื่อป้องกันการตกทับถมของตะกอนบริเวณปากคลอง

2. กำแพงป้องกันคลื่นริมชายหาด (Sea wall) เพื่อทดแทนกำแพงเดิมที่พังลง

3. เขื่อนป้องกันคลื่นนอกชายฝั่ง (Offshore breakwater) จำนวน 5 ตัว บริเวณวัดบางไทรย้อย ด้านเหนือคลองบางตราน้อย เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลทั้งจากคลื่นซัดฝั่งและกระแสน้ำที่จะมี การเคลื่อนตัวหักเหเข้าสู่ฝั่ง เมื่อเคลื่อนตัวผ่านเขื่อนกันทรายและคลื่นบริเวณปากคลองบางตราน้อย

4. เขื่อนป้องกันคลื่นนอกชายฝั่งแบบจมน้ำ (Submerged offshore breakwater) จำนวน 6 ตัว ระหว่างปากคลองบางตราน้อยถึงปากคลองบางตราใหญ่ เพื่อลดหรือสลายพลังงานคลื่นซัดฝั่งและเสริมประสิทธิภาพการทำงานของรอดัก ทราย โดยออกแบบให้จมน้ำในภาวะน้ำทะเลขึ้นปกติ แต่จะมองเห็นสันเขื่อนเฉพาะเวลาน้ำทะเลลงต่ำสุดเท่านั้น เพื่อลดปัญหาด้านมลทัศน์

5. รอดักทราย (Groin) จำนวน 7 ตัว เพื่อดักตะกอนที่เคลื่อนตัวมากับกระแสน้ำชายฝั่ง

6. การถมทรายเสริมชายหาดหรือการบูรณะชายหาดด้วยการเสริมทราย (Beach nourishment) ความกว้าง 40-50 เมตร ตลอดความยาวชายหาด ระหว่างปากคลองบางตราน้อยถึงปากคลองบางตราใหญ่ เพื่อให้ได้พื้นที่หน้าชายหาดที่กว้าง มีเสถียรภาพและสวยงามขึ้น

7. กำแพงหินทิ้ง (Revetment) บริเวณด้านหน้าชายหาดระหว่างรอดักทราย เพื่อเพิ่มเสถียรภาพของชายหาดที่ถมทรายเสริมชายหาดไปแล้ว

 

อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จึงได้ใช้สถานที่บริเวณนี้เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการแก้ปัญหาการกัดเซาะ ชายฝั่ง เพื่อให้ผู้ที่มาเข้าชมนำความรู้ และวิธีการต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในบริเวณอื่นๆ ได้

 

1