พลังงานลม
ลมเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากมวลของอากาศเคลื่อนที่ ถ่ายเทจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ซึ่งสามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฏีทางฟิสิกส์ มีความสัมพันธ์และเป็นผลมาจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ความกดดันของบรรยากาศ แรงจากการหมุนของโลก สิ่งกีดขวางและความขรุขระของพื้นผิว
 
 
 

พลังงานลมเป็นพลังงานชนิดหนึ่ง (พลังงานจลน์) มนุษย์รู้จักนำพลังงานลมมาใช้ประโยชน์ เมื่อราวๆ 5,000 ปี ก่อนคริสตกาล จนถึงยุคปัจจุบัน มนุษย์จึงให้ความสำคัญกับพลังงานที่ได้จากลมมากขึ้น หลักการผลิตกระแสไฟฟ้าจากกังหันลมนั้น ใช้หลักการคล้าย ๆ กับโรงไฟฟ้าทั่วไป (ยกเว้นเซลล์แสงอาทิตย์) คือ ผลิตไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้า (Electric Generator) ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ 1) แม่เหล็กขั้วเหนือ – ขั้วใต้ และ 2) ขดลวดที่อยู่ระหว่างขั้วของแม่เหล็ก “เมื่อขดลวดหมุนระหว่างขั้วแม่เหล็ก สนามแม่เหล็กที่เกิดเนื่องจากแม่เหล็กจะเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นในขด ลวด” ดังนั้น เมื่อมวลลมซึ่งมีความเร็วมากระทบกับกังหัน จะทำให้กังหันหมุน ขดลวดที่อยู่ระหว่างขั้วแม่เหล็กที่เชื่อมด้วยเพลาเข้ากับกังหันลมก็จะหมุน ตาม ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น หรือจะมองว่ากังหันลมทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานจลน์ของลม เป็นพลังงานกลและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงาน ไฟฟ้านั่นเอง

 

การเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้พลังงานลมในการใช้ประโยชน์ด้านการ เกษตร มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ความเข้าใจในการเลือกใช้พลังงาน สะอาด และสามารถขยายผลต่อยอดการใช้พลังงานลมเป็นพลังงานทางเลือกได้ในอนาคต โดยในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ได้ทำการติดตั้งกังหันลมในบริเวณพื้นที่ 2 จุด คือ

 

1. กังหันลมผลิตไฟฟ้า บริเวณคลองบางตราน้อย ได้ทำการติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าความเร็วลมต่ำ ขนาด 1 กิโลวัตต์ (1,000 วัตต์) จำนวน 3 ชุด แบบระบบทุ่งกังหันลม (Mini Wind Farm System) โดยผลิตกระแสไฟฟ้าประจุในแบตเตอรี่จำนวน 12 ลูก สำหรับใช้เป็นไฟแสงสว่างในช่วงเวลากลางคืน

 

2. กังหันลมเพื่อการสูบน้ำ เพื่อใช้ประโยชน์ในแปลงพื้นที่ฟื้นฟูป่าบกของพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานา ชาติสิรินธร โดยได้ทำการติดตั้งกังหันลม แบบ 30 ใบพัด และแบบ 24 ใบพัด จำนวน 2 ชุด กำลังงานของกังหันลม ประมาณ 40 วัตต์ ปริมาตรน้ำที่สูบได้ ประมาณ 21 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน

 

1